Sunday, July 22, 2012

การออกแบบบรรจุภัณฑ์






Packaging Design : Resume Idea Sketch ด้วย Google SketchUp หลังจากที่ทำ Visual Study และการกำหนดแนวคิดตามความต้องการผลงานออกแบบ ในที่นี้เป็นการแก้ออกแบบและแก้ปัญหาให้ตามความต้องการของ น้ำตาลมะพร้าวน้ำหอม ไผ่ริมแคว ซึ่งต้องการงานออกแบบนับแต่เบื้องต้นคือ Corporate Identity Design เช่น Logotype, Corporate Graphics เช่น ลวดลวย(Motif),ภาพประกอบ(Illustrate) ตรา-สัญลักษณ์ กราฟิก การรับรองคุณภาพต่างๆ ข้อความ คำโฆษณา ซึ่งต้องนำมาออกแบบ จัดพิมพ์ลงในพื้นที่ของตัวโครงสร้างตัวบรรจุภัณฑ์ นับแต่บรรจุภัณฑ์ชั้นที่1(Primary Package)







คือ กล่องพลาสติกใสทรงกลมมีฝาปิด( PET Box) ในที่นี้คือ ต้องการฉลากปิดฝาบน(Lable) และออกแบบให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2(Secondary Package)เพื่อให้มีพื้นที่สื่อสารเพื่อการโฆษณามาก
ขึ้น ในที่นี้กำหนดให้เป็นแถบกระดาษพิมพ์สี่สี-ห้าสี หรืออาจสีเดียว เป็นเส้นเข็มขัดรัดเจาะรัดรูปโครงสร้างกล่องเอาไว้ และโชว์สีจริงของผลิตภัณฑ์ และเพราะต้องการให้มีพื้นที่พิมพ์โฆษณาและใส่ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตามข้อบังคับทางกฏหมาย ได้ง่ายและช่วยปิดบังความไม่เรียบร้อยของตัวผลิตภัณฑ์เอาไว้ ซึ่งแบบร่างทางความคิดนี้ ก็คือการวางแผนและเป็นการหาพื้นที่-ขนาดสัดส่วนโครงสร้างพื้นฐานของการออกแบบกราฟิกต่อไป

Sunday, July 15, 2012

สัปดาห์ที่ 6



สัปดาห์ที่ 6 การติดตามผลการดำเนินงานกลุ่ม ขั้น ส.1- ส.2\


การเริ่มต้นทำงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ ด้วยการกำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน(Design Direction or Framework) และการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าและบรรจุภัณฑ์ทางการมองเห็น (Product's Package Visual Analysis) คุณทราบหรือไม่ว่า แต่ละเลขหมายที่กำกับไว้คืออะไร มีชื่อศัพท์เฉพาะว่าอย่างไร หากไม่ทราบควรเริ่มจากการใช้คำสำคัญค้นคือ ใช้ "4W2H" เป็นแนวทางเพื่อศึกษาหาองค์ความรู้ก่อน แล้วจะทราบคำตอบที่แน่ชัดว่างานที่ต้องทำหรือออกแบบนั้นคืออะไร 

จะต้องเกี่ยวข้องกับการที่ต้องใช้องค์ความรู้ศาสตร์สาขาใด เครื่องมือและอุปกรณ์ในการคิด การสร้างสรรค์และการผลิตอย่้างไร ในสัปดาห์ที่ 6 นี้ ต้องมีคำตอบและแต่ละกลุ่มต้องนำเสนอแนวทาง
พัฒนา จากโจทย์ที่มอบหมายไปแล้ว 


BANANA LOGO



Saturday, July 14, 2012

ข้อมูลสินค้า banana


แบบบันทึก สัมภาษณ์และสำรวจข้อมูลเบื้องต้น
โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์
โอทอป และการบริการจัดการชุมชน เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
วันที่ 28-30 มิถุนายน 2555 จังหวัดกาญจนบุรี
…………………………………………………………………………………………………………………….
ชื่อผู้ประกอบการ รายที่10 ชื่อ /กลุ่ม สตรีอาสาพัฒนากล้วยน้ำว้าไทย
ชื่อ-สกุลผู้ประกอบการ
สตรีอาสาพัฒนากล้วยน้ำว้าไทย
1.คุณจินตนา สระสำอาง หมายเลขโทรศัพท์ 081-4087889 , 081-9415469
2.คุณปราณี จุ้ยวัน หมายเลขโทรศัพท์ 034-659078
3.สตรีอาสาพัฒนาตำบลบ้านใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 034-659078 โทรสาร 034-659193
ที่อยู่
22 หมู่ 3 ตำบลทุ่งสมอ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 71140
หมายเลขโทรศัพท์และโทรสาร
สตรีอาสาพัฒนากล้วยน้ำว้าไทยหมายเลขโทรศัพท์ 034-659078 โทรสาร 034-659193
E-mail /Website
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน
ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันของกลุ่มสตรีอาสาพัฒนากล้วยน้ำว้าไทยตำบลทุ่งสมอที่ต้องการนำมาเข้าร่วมโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โอทอป และการบริการจัดการชุมชน เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือผลิตภัณฑ์กล้วยทอดกรอบปรุงรสโดยทางกลุ่มสตรีอาสาพัฒนากล้วยน้ำว้าไทย ตำบลทุ่งสมอ มีตัวบรรจุภัณฑ์ในการขายและการขนส่ง 2 ประเภท9 รสชาติ
1.             ซองฟอยท์พิมพ์ระบบกราวัวร์
2.             ซองพลาสติกพีอีพิมพ์ระบบกราวัวร์
3.             กล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูก เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับใช้ในการขนส่ง
การบรรจุผลิตภัณฑ์ชั้นแรกยังใช้แรงงานจากคน โดยนำผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าทอดกรอบที่ปรุงรสแล้วมาทำการบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้แล้วซีลปากถุงให้สนิท จากนั้นก็นำไปบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ชั้นที่ 2 คือกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งกล่องบรรจุได้ 12 ชิ้น และ 24 ชิ้นบรรจุภัณฑ์แบบเก่าที่ผู้ประกอบการเคยนำมาบรรจุ และเลิกใช้เนื่องจากยอกขายตกต่ำ
1.             แบบถุงพลาสติกฟอยท์ ที่ออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้น ไม่สามารถขายได้เนื่องจากลูกค้ายังจดจำภาพลักษณ์บรรจุภัณฑ์อันเก่าเพราะคิดว่าบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่ไม่ใช่ สินค้า ตราบานาน่า (คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555)


ข้อมูลการตลาดของสินค้า
                แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
-                   ห้างสรรพสินค้าโลตัส , บิ๊กซี , คาร์ฟูร์ , เซเว่นอีเลฟเว่น
-                   ร้านจำหน่ายสินค้า OTOPจังหวัดกาญจนบุรี ณ ศาลากลางกาญจนบุรี
-                   ส่งออกต่างประเทศ เช่น จีน , อินเดีย , อเมริกา (คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555)
                ราคาจำหน่าย
-                   ราคาขายปลีก 5 บาท22 กรัม
-                   ราคาขายปลีก 10 บาท / 50  กรัม
-                   ราคาขายส่ง 16 บาท / 102 กรัม
-                   ราคาขายปลีก 25 บาท /  102 กรัม

1. ปัจจุบันสภาพ/ปัญหาที่เกิดขึ้น/ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันสภาพ

1.1 ปัจจุบันสภาพการวางขายในร้านของฝากจังหวัดกาญจนบุรี การออกงานแสดงสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ส่งขายตามห้างร้านต่างๆ เช่น โลตัส , บิ๊กซี , คาร์ฟูร์, เซเว่นอีเลฟเว่น และส่งออกต่างประเทศจีน , อินเดีย , อเมริกา(คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555) 

1.2 ปัจจุบันสภาพบรรจุภัณฑ์เป็นซองพลาสติกพีอีพิมพ์ระบบกราวัวร์และซองพลาสติกฟอยท์พิมพ์ระบบกราวัวร์ เพื่อจำหน่าย และกล่องบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกเพื่อการขนส่ง 

1.3 ปัจจุบันสภาพของผลิตภัณฑ์เป็นกล้วยทอดกรอบปรุงรส รสชาติต่างๆ9 รสชาติ คือ รสบาบีคิว,รสไก่,รสกุ้ง,รสสาหร่าย,รสลาบ,รสปาปริก้า,รสพิซซ่า,รสช็อคโกแล็ต,รสมะเขือเทศ การบรรจุผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ยังใช้แรงงานจากคน โดยนำผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าทอดกรอบที่ใช้เครื่องผสมคลุกเคล้ารสชาติให้เครื่องปรุงเข้ากันดีแล้ว จึงนำมาทำการบรรจุใส่ลงในซองบรรจุภัณฑ์ที่เตรียมไว้แล้วซีลซองตรงก้นถุงด้วยความร้อนจากเครื่องให้เรียบร้อย จากนั้นก็นำไปบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์ชิ้นที่ 2 คือ กล่องบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งกล่องบรรจุภัณฑ์ บรรจุได้ 12 ชิ้น และ 24 ชิ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้น

1. ปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่นำส่งขายร้านสะดวกซื้อ ยังไม่ทันสมัยและน่าสนใจ ทางกลุ่มสตรีอาสาพัฒนากล้วยน้ำว้าไทยจึงต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ แต่พอนำบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบใหม่ไปใช้แล้วทำให้ยอดขายไม่ดี จึงกลับมาใช้บรรจุภัณฑ์แบบเดิม (คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555) 

2. ปัญหาด้านการซีลบรรจุภัณฑ์ที่เกิดรอยรั่ว (คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555) 

3. ผู้ประกอบการยังต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ตัวเก่าเพราะยอดขายที่ได้ยังดีและลูกค้าส่วนใหญ่จำภาพลักษณ์เดิมๆมากกว่า(คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555)

ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายตามความต้องการของผู้ซื้อในท้องตลาด

ความต้องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์

1.ต้องการให้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ยึดเอาตัวเอกลักษณ์เดิมตามแบบบรรจุภัณฑ์เก่า(คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555)

2. ต้องการให้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ดูทันสมัย ดูชัดเจน และ สวยงามแต่ยังคงรูปลักษณ์ตามแบบบรรจุภัณฑ์เดิม (คุณ ปราณี จุ้ยวัน วันที่ 29 - 06 -2555)


Sunday, July 8, 2012

ขั้นตอนการออกแบบ


บานาน่า กล้วยปรุงรส


การออกแบบโลโก้สำหรับบรรจุภัณฑ์




รายชื่อสมาชิค five group


กลุ่ม Five Group


แนะนำสมาชิคกลุ่ม Five Group




นางสาว อาภารัตน์ เถกิงเกียรติ 
รหัส : 5311310436
ตำแหน่ง: หัวหน้ากลุ่ม
E-mail : aparat420@gmail.com





นาย ณัฐวุฒิ บุญสม
รหัส : 5311322571
ตำแหน่ง: สมาชิกกลุ่ม








นาย สกากฤษณ์ ชนะสุรสีห์
รหัส : 5311317233
ตำแหน่ง: สมาชิกกลุ่ม


E-mail : skakrit@gmail.com




นาย ศุภชาติ บุญอ้วน
รหัส : 5311322779
ตำแหน่ง: สมาชิกกลุ่ม






Thursday, June 28, 2012

ขั้นตอนการออกแบบตัวอักษร


ออกแบบฟร้อน ภาษาไทย
โดย  นางสาว อาภารัตน์  เถกิงเกียรติ
รหัสนักศึกษา 5311310436 กลุ่มเรียน 101
วิชา การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์ (ARTI3314)

ขั้นตอนการออกแบบฟร้อน  “Aparat”
1        1. สเก็ตแบบร่าง และนำมาสแกนลงคอมพิวเตอร์

ที่มาของภาพ : นางสาว อาภารัตน์ เถกิงเกียรติ แบบสเก็ต.jpg


2. นำไฟล์ที่สแกน มาทำการ Place ในโปรแกรม Adobe Illustrator













ที่มาของภาพ : นางสาว อาภารัตน์ เถกิงเกียรติ  “Adobe Illustrator Cs4

3.ทำการดราฟเส้นลงบนภาพโดยใช เครื่องมือ Pen Tool













ที่มาของภาพ นางสาว อาภารัตน์ เถกิงเกียรติ  “Adobe Illustrator Cs4

4.เมื่อดราฟเส้นเรียบร้อยแล้วจากนั้น ทำการใส่สีให้แก่ตัวอักษร













ที่มาของภาพ นางสาว อาภารัตน์ เถกิงเกียรติ  “Adobe Illustrator Cs4

5.  ตกแต่งจัดเรียงให้สวยงาม และตรวจความเรียบร้อยของงาน













ที่มาของภาพ : นางสาว อาภารัตน์ เถกิงเกียรติ  “Adobe Illustrator Cs4

6. ผลงานเสร็จสมบูรณ์



Thursday, June 21, 2012

arti3314:การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์: ผลิตภัณฑ์โอทอป ในร้านดอยคำ ห้าง Factory Outlet จัง...

arti3314:การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์: ผลิตภัณฑ์โอทอป ในร้านดอยคำ ห้าง Factory Outlet จัง...: Doikham retail store at factory outlet:Flynow ผลิตภัณฑ์โอทอป ในร้านดอยคำ ห้าง Factory Outlet จังหวัดสระบุรี

Kanchanaburi Otop 5 Stars Product and Packaging Development: กิจกรรมการฝึกอบรมความรู้เรื่อง แนวทางการพัฒนาผลิตภ...

Kanchanaburi Otop 5 Stars Product and Packaging Development: กิจกรรมการฝึกอบรมความรู้เรื่อง แนวทางการพัฒนาผลิตภ...: View all Get your own ผศ.ประชิด ทิณบุตร ในฐานะหัวหน้าทีมวิทยากรที่ปรึกษาของบริษัท เอซีที อินเทลลิเจ้นท์ จำกัดและทีมงานการศึกษาวิจัย อ...

งาน Thai Typeface Design Competition ครั้งที่ 2


ที่มาของโครงการ
ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคตด้วย
ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” นี้ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ โดยจัดครั้งแรกขึ้นในปี 2554 ได้รับผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
1) วัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
- ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
- ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน
2) การดำเนินงาน
- ประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยผ่านเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ สถาบันการศึกษา และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบกราฟิก และการใช้ฟอนต์
- นักออกแบบฟอนต์ จะส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด PDF โดยผ่านทางเว็บไซต์ที่ชมรมฯ เตรียมไว้สำหรับการรับผลงาน ซึ่งมีระบบคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญาของผู้ออกแบบฟอนต์เป็นอย่างดี
- ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
• ผลงานออกแบบฟอนต์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
• ผลงานให้เรียงเป็นข้อความสั้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด บนพื้นที่กระดาษขนาด A3
- คณะกรรมการคัดเลือก ทีึ่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน โดยคัดเลือกผู้ที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 20 คน เพื่อรับโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ และผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน เข้าร่วมการสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 1 วัน
- เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางเว็บไซต์ของชมรมฯ และเครือข่ายพันธมิตร
3) กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าประกวด 
- นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
- นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์
4) แผนการดำเนินงาน
- 1 ก.พ. – 30 เม.ย. 2555
• ติดต่อประสานงานเครือข่ายฟอนต์ ได้แก่ fOnt.com, เครือข่ายใน facebook, ผู้เคยเข้าร่วมกิจกรรมประกวดแบบตัวพิมพ์ของชมรมฯ และของกรมทรัพย์สินทางปัญญา, บริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์, อาจารย์และสถาบันการศึกษาทีเปิดสอนวิชา lettering design และ typography, นิตยสาร iDesign, Computer Art ฯลฯ
• แต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผลงาน
- 15 พ.ค. 2555 เริ่มประชาสัมพันธ์โครงการ
- 15 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2555 รับผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclub.org
-  1-3 ก.ค. 2555 คัดเลือกผลงาน
- 5 ก.ค. 2555 แจ้งผลการคัดเลือกถึงผู้มีผลงานดีเด่นและผู้ผ่านเกณฑ์ (รวม 50 คน)
- 21 ก.ค. 2555 กิจกรรมสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ (80-100 คน) ประกอบด้วย การสัมมนาวิชาการ กิจกรรมเสริมสร้างเครือข่ายฟอนต์ และการมอบโล่/ใบประกาศเกียรติคุณ
5) ตัวชี้วัด 
ด้านจำนวนผู้เข้าร่วมและจำนวนผลงาน
- มีผู้ส่งผลงานไม่น้อยกว่า 150 คน จำนวนผลงาน ไม่น้อยกว่า 200 ผลงาน
- มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน
ด้านเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย
- มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 20 สถาบัน
- ได้รับความสนับสนุนจากบริษัทผู้พัฒนาแบบตัวพิมพ์
- ได้รับความสนับสนุนจากสื่อต่างๆ เช่น fOnt.com และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
6) การสัมมนาเพื่อพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์
6.1) กิจกรรมสัมมนาวิชาการ
- ความรู้เรื่องฟอนต์สำหรับสือใหม่ (เว็บไซต์, eBook)
- ประสบการณ์ในการออกแบบตัวอักษรไทย และละติน (Latin)
- ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสร้างฟอนต์
- การทำตลาดฟอนต์ (ในประเทศและต่างประเทศ)
- ความเห็นเรื่องฟอนต์จากฝั่งนักออกแบบกราฟิก (ผู้ใช้ฟอนต์)
6.2) กิจกรรมสร้างเครือข่าย
-  จับคู่นักออกแบบและบริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์
-  แนะนำเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายสังคมออนไลน์ – fOnt.com และ facebook และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
-  สร้างการมีส่วนร่วมของ resource persons ในเครือข่ายฟอนต์ โดยการเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยงให้นักออกแบบรุ่นใหม่